เพื่อความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการเมื่อท่านไปติดต่อที่สถานีตำรวจ ท่านควรเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยคือ 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบแทนฯ หรือ 2. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ 3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ 4. หนังสือเดินทาง (PASSPORT) สำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ 5. สำเนาทะเบียนบ้าน 6. ในกรณีที่ท่านจะไปร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่นให้นำ หลักฐานต่างๆ ดังนี้ติดตัวไปด้วย6.1 ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์6.2 ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ (ตามคำสั่งศาล)6.3 ในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ ให้ท่านนำหลักฐานซึ่งแสดงว่าท่าน เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานหรือสามีภรรยา (ซึ่งได้จดทะเบียนบ้าน, สูติบัตร,ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ) มาแสดง ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ 6.4 ใบสำคัญแสดงการอนุญาตของสามีและภรรยาแล้วแต่กรณี ให้ร้องทุกข์แทนหรือเป็นตัวแทนโดยสมบูรณ์ 6.5 ในกรณีที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลให้นำ (1) หนังสือมอบอำนาจของนิติบุคคลเป็นหลักฐานทั้งติดอากรแสดมป์ 5 บาท (2) หนังสือรับรองนิติบุคคลนั้นของกระทรวงพาณิชย์ |
แจ้งความเอกสารสำคัญหาย
เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์, จักรยานยนต์, โฉนดที่ดิน,ใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว ฯลฯ มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้ 1. ยื่นคำร้องแจ้งว่าเอกสารดังกล่าวหาย ต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่หาย 2. เจ้าพนักงานตำรวจจะทำการสอบสวนว่าหายจริงหรือไม่ แล้วลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน 3. เจ้าพนักงานตำรวจจะออกหลักฐานยืนยันไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป |
แจ้งความคนหาย
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. บัตรประจำตัวผู้หาย (ถ้ามี) 2. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ผู้หาย 3. ภาพถ่ายคนหาย (เป็นภาพถ่ายที่ใหม่ที่สุด) 4. ใบสำคัญทางราชการ เช่น ใบเกิด,ใบสำคัญทหาร (ใบกองเกิน, กองหนุน) |
แจ้งความรถและเรือหาย
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. ใบทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ หรือ พาหนะอื่นๆ ที่หาย 2. ใบรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี 3. ถ้าเป็นตัวแทนห้างร้าน บริษัท ไปแจ้งความควรมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของหรือผู้จัดการของห้างร้าน บริษัทนั้นๆ ไป รวมทั้งหนังสือรับรองบริษัทด้วย 4. หนังสือเกี่ยวกับการติดต่อหรือเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ (ถ้ามี) 5. หนังสือคู่มือประจำตัวรถที่ทางบริษัทห้างร้านจ่ายให้เป็นคู่มือ ถ้าไม่มีหนังสือคู่มือรถ ให้จำยี่ห้อ สี แบบ หมายเลขประจำ วันเครื่องและตัวรถไปด้วย (ถ้ามี) |
แจ้งความอาวุธปืนหาย
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. ทะเบียนใบอนุญาตอาวุธปืน 2. ใบเสร็จรับเงินที่บริษัทห้างร้ายขายปืนออกให้ |
แจ้งความทรัพย์สินหาย
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. ใบเสร็จรับเงินซื้อขาย หรือหลักฐานการแสดงการซื้อขายทรัพย์สินนั้น 2. รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ (ถ้ามี) 3. ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ 4. เอกสารสำคัญต่างๆ เท่าที่มี 5. ในกรณีลักทรัพย์ในบ้านเรือน หรือสำนักงานให้รักษาร่องรอยหลักฐานในที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้องหรือ เคลื่อนย้ายสิ่งของในที่เกิดเหตุจนเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไปถึง |
แจ้งความพรากผู้เยาว์
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เยาว์ 2. รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ (ถ้ามี) 3. ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ 4. ใบสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับผู้เยาว์ (ถ้ามี) |
แจ้งความถูกข่มขืนกระทำชำเรา
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. เสื้อผ้าของผู้ที่ถูกข่มขืนฯ ซึ่งมีคราบอสุจิ หรือรอยเปื้อน อย่างอื่นอันเกิดจากการข่มขืนและสิ่งของต่างๆของ ผู้ต้องหาที่ ตกอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ 2. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เสียหาย 3. รูปถ่าย หรือที่อยู่ของผู้ต้องสงสัยตลอดจนหลักฐานอื่นๆ |
แจ้งความถูกทำร้ายร่างกายและเหตุฆ่าคนตาย
ควรดำเนินการดังนี้ 1. ให้ดูแลรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้อง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ในที่เกิดเหตุ จนกว่าเจ้า พนักงาน ตำรวจจะไปถึงที่เกิดเหตุ 2. เมื่อพบ มีด ไม้ ปืน ของมีคม หรืออาวุธที่คนร้ายทิ้งไว้ ในสถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนพยานหลักฐานต่างๆ ที่ตกอยู่ใน ที่ เกิดเหตุ หากปล่อยทิ้งไว้จะสูญหายหรือเสียหาย ให้นำมา มอบเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3. รายละเอียดเท่าที่สามารถบอกให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทราบ |
แจ้งความถูกปลอมแปลงเอกสาร
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. ใบสำคัญตัวจริง เช่น โฉนด แบบ น.ส.3 แบบ ส.ค. 1 หนังสือสัญญา ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น 2. หนังสือที่ปลอมแปลง 3. ตัวอย่างตราที่ใช้ประทับหรือลายเซ็นในหนังสือ |
แจ้งความถูกฉ้อโกงทรัพย์
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. หนังสือหรือหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการถูกฉ้อโกง 2. หนังสือแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ 3. หนังสือหรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์ |
แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. หนังสือสำคัญที่เป็นหลักฐานว่าได้มีการมอบหมายทรัพย์ให้ไป จัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง 2. ใบสำคัญแสดงการเป็นเจ้าของ 3. สำเนาหรือคำสั่งศาล หรือพินัยกรรมในกรณีผู้กระทำผิดเป็น ผู้จัดการทรัพย์สินผู้อื่นตามคำสั่งของศาลหรือพินัยกรรม |
แจ้งความยักยอกทรัพย์เกี่ยวกับการเช่าซื้อหาย
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. สัญญาใบเช่าซื้อหรือสำเนา 2. ใบสำคัญติดต่อซื้อ ขาย เช่า ยืมหรือฝาก 3. ใบสำคัญที่บริษัทห้างร้านออกให้โดยระบุรูปพรรณ ยี่ห้อ สี ขนาด น้ำหนักและเลขหมายประจำตัว |
แจ้งความทำให้เสียทรัพย์
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. หลักฐานต่างๆ แสดงการเป็นเจ้าของหรือครอบครองทรัพย์นั้น 2. หลักฐานหรือสิ่งของที่เสียหายเท่าที่มีหรือเท่าที่นำไปได้ 3. หากเป็นของใหญ่โต หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ให้เก็บรักษาไว้อย่าให้เกิดการเสียหายมาก ขึ้นกว่าเดิม หรือจัดให้คนเฝ้ารักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป |
แจ้งความจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ 1. เช็คที่ยึดไว้ 2. หนังสือที่ธนาคารแจ้งขัดข้องหรือปฎิเสธการจ่ายเงิน |
การประกันตัวผู้ต้องหา
ในกรณีที่ท่านต้องการประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในชั้นสอบสวน ท่านควรมีหลักฐานต่างๆ ดังต่อไปนี้ติดตัวไปด้วย คือ 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. หลักทรัพย์ที่จะใช้เป็นหลักประกัน ได้แก่2.1 เงินสด (เงินตราของรัฐบาลไทยเท่านั้น)2.2 โฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้วหรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสอง เท่าของ จำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน2.3 หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก ) ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้ว หรือพนักงานสอบสวน เชื่อว่าที่ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินที่ไว้ในสัญญาประกัน 2.4 พันธบัตรรัฐบาล 2.5 สลากออมสินและสมุดฝากเงินธนาคารประเภทประจำ 2.6 ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร 2.7 ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว 2.8 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว 2.9 เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง 2.10 หนังสือรับรองของธนาคาร เพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีที่ผิดสัญญาประกัน วิธีการปฏิบัติ 6.1 ความหนักเบาแห่งข้อหา 6.2 พยานหลักฐานที่สอบสวนไปแล้วมีเพียงใด 6.3 พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างใด 6.4 เชื่อถือผู้ร้องขอประกันได้เพียงใด 6.5 ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใด หรือไม่ ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนีหรือไม่ |
การใช้บุคคลเป็นประกัน
คำสั่งกรมตำรวจ ที่ 622/2536 ลงวันที่ 15 เมษายน 2536เรื่อง การใช้บุคคลเป็นประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวกระทรวงมหาดไทยและกรมตำรวจ มีนโยบายอำนวยความสะดวก ในการให้บริการแก่ประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการใช้บุคคลเป็นประกันหรือ หลักประกันในการปล่อยชั่วคราวตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 110 และมาตรา 114 วรรคสอง |
บุคคล |
วงเงินประกัน |
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 3 ถึง 5 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า - ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี หรือร้อยตำรวจตรีถึงพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรีหรือพันตำรวจตรี - ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป - พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ - สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร - สมาชิกสภาจังหวัด - สมาชิกสภาเทศบาล - สมาชิกสภาเมืองพัทยา - สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร - กรรมการสุขาภิบาล - กำนัน |
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง ได้ในวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท |
บุคคล |
วงเงินประกัน |
- ผู้ใหญ่บ้าน - ข้าราชการพลเรือนระดับ 6 ถึง 8 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า - ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโทถึงพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกหรือพันตำรวจเอก - ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่ ชั้น 1 ถึง 2 - พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ |
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง ได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท |
บุคคล |
วงเงินประกัน |
- ผู้ใหญ่บ้าน - ข้าราชการพลเรือนระดับ 9 ถึง 10 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า - ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกหรือ พันตำรวจเอกที่ได้รับ อัตราเงินเดือนพันเอก(พิเศษ) นาวาเอก(พิเศษ) นาวาอากาศเอก- (พิเศษ)หรือพันตำรวจเอก(พิเศษ) - ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่ ชั้น 1 ถึง 2 - พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ |
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง ได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท |
บุคคล |
วงเงินประกัน |
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า - ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่พลโท พลเรือโท พลอากาศโท หรือพลตำรวจโท - ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่ ชั้น 5 ขึ้นไป - พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ - สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร |
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง ได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท |
- ให้ผู้ที่ขอทำสัญญาประกันแสดงบัตรประจำตัวต่อพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบ พิจารณาอนุญาตโดยไม่ชักช้า - ในกรณีจำเป็นเพื่อทราบเกี่ยวกับสถานะ ระดับ อัตราเงินเดือนหรือ ภาระผูกพัน อื่นใด อาจให้ผู้ยื่นประกันแสดงหนังสือ รับรองจาก ต้นสังกัดและภาระผูกพันนั้น ภายในห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้ รับอนุญาตให้ประกัน - กรณีบุคคลใดได้ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองไว้ แต่หลัก ประกันยังไม่เป็นการ เพียงพอ ให้ใช้บุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติ ตาม ที่กำหนดไว้หรือใช้หลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้ |
การขอถอนหลักทรัพย์
นายประกันจะต้องนำใบเสร็จรับเงินหรือสำเนาสัญญาประกันตัว ผู้ต้องหามาตรวจสอบผลคดีเสียก่อน |
ถ้าผลคดีเสร็จสิ้นก็มอบให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการถอนโดยนำบัตร ประจำตัวประชาชนของนายประกันมาแสดงด้วย
กรณีนายประกันไม่สามารถมาขอถอนหรือรับหลักฐานด้วยตนเอง ได้ ก็ให้ทำใบมอบฉันทะแล้ว นำมาแสดงด้วยเพื่อเป็นหลักฐาน
หมายเหตุ
เพื่อความสะดวกในการติดต่อราชการกับหน่วยราชการต่างๆท่าน ควรมีหลักฐานดังต่อไปนี้ ติดประจำตัวไว้เสมอ คือ
(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(2) สำเนาทะเบียนบ้าน
การขออนุญาตต่างๆ
เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขออนุญาตต่างๆ จึงได้ จัดทำเอกสารแนะนำดังต่อไปนี้ 1. การขออนุญาตแสดงมหรสพชั่วคราว กรุงเทพมหานคร : |
- ยื่นคำร้องต่อผู้กำกับหรือรองผู้กำกับหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ต่างจังหวัด :
- ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ นายอำเภอเป็นผู้อนุญาต
- เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ทางอำเภอจะแจ้งให้ตำรวจท้องที่ทราบ
- ต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของสถานที่
- ต้องขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียงด้วย (ถ้ามี)
- เลิกแสดงมหรสพเวลา 24.00 น.
2. การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อผู้อำนวยการเขต
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ แล้วนำคำร้องมายื่นต่อผู้กำกับหรือรองผู้กำกับท้องที่เพื่อพิจารณา
มีความเห็นก่อนแล้วนำกลับไปยังเขตหรืออำเภอเพื่ออนุญาตต่อไป
3. การขออนุญาตจุดดอกไม้เพลิง
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องที่สถานีตำรวจท้องที่เพื่อเสนอเรื่อง ตามลำดับชั้นให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่
4. การขออนุญาตแสดงมหรสพงิ้ว
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องที่สถานีตำรวจท้องที่ พร้อมบทประพันธ์ และคำแปลภาษาไทย, รายชื่อผู้แสดง
แผนผังสถานที่และคำยินยอมของเจ้าของสถานที่
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ พร้อมบทประพันธ์และคำแปลภาษาไทย, รายชื่อผู้แสดง
แผนผังสถานที่และคำยินยอมของเจ้าของสถานที่ โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
5. การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อแผนกอาวุธปืน กองทะเบียน กรมตำรวจ
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่
6. การขออนุญาตพกอาวุธปืนติดตัว
: ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ ทางอำเภอยื่นเรื่องราว ต่อไปยังจังหวัด ในเขตจังหวัดผู้ว่าราชการเป็นผู้อนุญาต
หากทั่วราชอาณาจักร อธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้อนุญาตโดยยื่น ผ่านกองทะเบียนกรมตำรวจ (เป็นข้าราชการต้องมีคำรับรอง ความประพฤติและความจำเป็นจากผู้บังคับบัญชาส่วนนอก นั้น ต้องมีคำรับรองจากกำนันผู้ใหญ่บ้าน)
7. การขอรับโอนมรดกอาวุธปืน
- ปฏิบัติเช่นเดียวกับการขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน
- ใบมรณบัตรของผู้ตาย
- หนังสือพินัยกรรมของผู้ตาย หรือคำสั่งของศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก (ถ้ามี)
- ต้องแจ้งขอรับโอนภายใน 15 วันนับแต่วันรับมรดก
8. การขออนุญาตเล่นการพนันประเภทต่างๆได้แก่การพนันไพ่ต่างๆ, ชกมวย, วัวลาน, และสะบ้าบ่อน
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องที่สถานีตำรวจท้องที่
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ นายอำเภอเป็นผู้อนุญาต แผนผังบริเวณบ้านที่เล่นการพนัน
9. การขออนุญาตฆ่าสุกร วัว ควาย
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อผู้อำนวยการเขต
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอหรือประธานกรรมการสุขาภิบาล
10. การขออนุญาตตั้งสมาคม
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องที่สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จากนั้นเรื่องจะส่งต่อไปที่แผนก 5 กองกำกับการ 3
กองบังคับการ ตำรวจสันติบาล 2 กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (อาคาร 20 ภายในบริเวณกรมตำรวจ)
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ เรื่องจะส่ง ต่อไปยังจังหวัด จากนั้นจะส่งไปสภาวัฒธรรมแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้พิจารณา
11. การขออนุญาตทำหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ ( พาสปอร์ต )
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อกองหนังสือเดินทางกระทรวงต่างประเทศ และสาขาย่อยรังสิต
โทร 531 – 8441
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่แล้วจังหวัด ส่งต่อไปยังกระทรวง การต่างประเทศพิจารณา
12. การขอนุญาตเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจท้องที่
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่ออุตสาหกรรมจังหวัด
13. การขออนุญาตขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อกรมการขนส่งทางบกของแต่ละเขต
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อกรมการขนส่งจังหวัด